วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อสอบ O-NET คอมพิวเตอร์ (ม.6)

1. ระบบสารสนเทศมีความสำคั­ญอย่างไร
    ช่วยให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ
    ช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพดี
    ช่วยให้ได้สารสนเทศที่เข้าใจได้ง่าย
    .  ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน

2. องค์ประกอบสารสนเทศที่สำคัญ­ที่สุดตรงกับข้อใด
    ฮาร์ดแวร์                    ซอฟต์แวร์
    บุคลากร                      .  ข้อมูล

3. การจัดทำคู่มือการทำงานเป็นกิจกรรมขององค์ประกอบสารสนเทศข้อใด
    ข้อมูล
    ฮาร์ดแวร์
    ซอฟต์แวร์
    .  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

4. ข้อใดเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
    ใช้ซอฟต์แวร์เพาเวอร์พอยนต์นำเสนองานเกี่ยวกับการขายสินค้า
    ใช้ซอฟต์แวร์เอสพีเอสเอสจัดเรียงลำดับข้อมูลในแบบสอบถาม
    ใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลหนังสือในห้องสมุด
    ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณการเสียภาษีของพนักงาน

5. การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซสจัดการฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
    ช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่าย
    ขช่วยให้ข้อมูลไม่สู­ญหาย
    ช่วยให้ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ
    .  ช่วยให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไม่ได้

6. ถ้าต้องการจัดการฐานข้อมูลนักเรียนในห้องเรียนควรเลือกใช้คำสั่งใด
    . Object                         . Forms
    . Tables                         .  Queries

7. ข้อใดสรุปหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
    หน่วยส่งออก > หน่วยประมวลผลกลาง  >  หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรอง> หน่วยรับเข้า
    หน่วยรับเข้า > หน่วยประมวลผลกลาง <>  หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรอง> หน่วยส่งออก
    หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก <> หน่วยความจำรองหน่วยส่งออก <>   หน่วยรับเข้า
    หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรอง หน่วยส่งออก >  หน่วยรับเข้า <> หน่วยประมวลผลกลาง

8. ฮาร์ดดิสก์ข้อใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    . 8 มิลลิวินาที/1.5 เทระไบต์
    . 12 มิลลิวินาที/2 กิกะไบต์
    . 24 มิลลิวินาที/4 กิกะไบต์
    .  36 มิลลิวินาที/8 กิกะไบต์

9. บัสเปรียบเทียบได้กับสิ่งใด
    ลิฟต์                             ฟุตบาท
    แผนที่                          .  ช่องทางจราจร

10. ข้อใดจับคู่ประเภทคอมพิวเตอร์กับการใช้งานได้ถูกต้อง
      ซูเปอร์คอมพิวเตอร์-ใช้งานในธนาคาร
      มินิคอมพิวเตอร์-ใช้งานในโรงแรม
      ไมโครคอมพิวเตอร์-ใช้งานในธุรกิจการบิน
      เมนเฟรมคอมพิวเตอร์-ใช้งานในบ้าน

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ผลิตภัณฑ์ ใบสั่งซื้อ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ ฐานข้อมูลจำนวนมากเริ่มมาจากรายการในโปรแกรมประมวลผลคำหรือโปรแกรมกระดาษคำนวณ เมื่อรายการมีขนาดใหญ่ขึ้น ความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลจะเริ่มปรากฏขึ้น การดูข้อมูลในฟอร์มรายการเริ่มไม่เข้าใจ และมีข้อจำกัดในการค้นหาหรือดึงเซตย่อยของข้อมูลมาตรวจทาน เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นการดีที่จะโอนถ่ายข้อมูลไปยังฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เช่น Office Access 2007
โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูลโปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQLเป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่าโปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย              โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน


โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรมFoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย


โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรมSQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่งSQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป

x

ฟังก์ชัน PHP

ฟังก์ชัน (Functions) คือ กลุ่มหรือชุดของคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่หนึ่งๆ เมื่อต้องการใช้งาน
ก็เพียงเรียกชื่อฟังก์ชันนั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที ฟังก์ชันใน PHP สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 
1) ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions) และ 2) ฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเอง (User Defined Functions) มีรายละเอียด ดังนี้

  • ฟังก์ชันมาตรฐาน (Built-in Functions)

ฟังก์ชันมาตรฐาน คือ ฟังก์ชันที่มาพร้อมกับ PHP สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีฟังก์ชันมาตรฐานมี
หลายกลุ่มการทำงาน สามารถจำแนกตามหน้าที่ ดังนี้

  1.  ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับวันที่และเวลา
  2.  ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการค านวณทางคณิตศาสตร์
  3. ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการติดต่อกับฐานข้อมูล
  4. ฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการจัดการกับกับสตริงหรือข้อความ


การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP

ในการเรียกใช้งานฟังก์ชันจะต้องตรวจสอบก่อนว่าฟังก์ชันนั้นๆ เป็นฟังก์ชันเพื่อทำหน้าที่อะไร มี

การรับส่งค่าตัวแปรระหว่างฟังก์ชันหรือไม่ ถ้าไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็สามารถเรียกใช้งานได้
เลย แต่ถ้ามีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน ก็จะต้องมีการระบุค่าพารามิเตอร์ ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ฟังก์ชันกำหนด
   ตัวอย่าง รูปแบบฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
 function_name ( );
   ตัวอย่าง รูปแบบฟังก์ชันที่มีการรับส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
 function_name ($value1, $value2);
   ตัวอย่าง  การเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐาน 
<?php 
             $today = date("d/m/Y");           // เรียกใช้งานฟังก์ชัน date(); พร้อมระบุค่าอากิวเมนต์
             echo $today;                            // แสดงผลลัพธ์ เป็นวันที่ปัจจุบัน เช่น 6/7/2012 เป็นต้น 
?>
การสร้างฟังก์ชัน
ลักษณะของงานที่จะนำมาสร้างเป็นฟังก์ชันนั้น ควรเป็นงานหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
มักจะต้องทำซ้ำๆ และบ่อยครั้ง เพื่อให้ไม่ต้องเขียนคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นๆ ทุกครั้งที่ต้องการทำงาน
แบบเดิม ซึ่งสามารถแยกคำสั่งบางส่วนออกมาสร้างเป็นฟังก์ชันไว้ต่างหากและนำมาทำเป็นฟังก์ชัน และ
เรียกใช้ตามลักษณะงานที่ต้องการ จะช่วยให้โค้ดคำสั่งของมีขนาดเล็กลง ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และง่ายในการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต เพราะสามารถแก้ไขเพียงครั้งเดียวก็จะมีผลทุกจุดที่เรียกใช้ฟังก์ชัน
รูปแบบ
<?php
              function ชื่อฟังก์ชัน (พารามิเตอร์)
             {
                          คำสั่ง;
             }
?>
** หมายเหตุ การตั้งชื่อฟังก์ชัน มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการตั้งชื่อตัวแปร ดังนี้ 
- ต้องขึ้นต้นชื่อด้วย a-z หรือ _ เท่านั้น 
- ต้องประกอบด้วย a-z, 0-9 หรือ _ เท่านั้น 
- ต้องไม่ซ้ากับชื่อฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วหรือฟังก์ชันมาตรฐานของ PHP 
พารามิเตอร์ คือ ตัวแปรหรือข้อมูลที่ต้องการรับจากภายนอกฟังก์ชันเข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชัน จะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจาเป็นต้องใช้หรือไม่

ฟิลด์

ฟิลด์ คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น 3 ประเภทคือ
          - ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข
          - ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank)เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร
          - ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า
       ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์ เป็นหน่วยย่อยของระเบียนที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูล เช่น ฟิลด์เลขรหัสประจำตัวบุคลากร ฟิลด์เงินเดือนของลูกจ้าง หรือฟิลด์เลขหมายโทรศัพท์ของพนักงาน ตัวอย่าง เช็คของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ธนาคาร เช็คเลขที่ จ่ายจำนวนเงินเป็นตัวเลข จำนวนเงินเป็นตัวอักษร สาขาเลขที่ เลขที่บัญชี และลายเซ็น
 
       ฟิลด์บางฟิลด์อาจจะประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ประเภทรวมกันในฟิลด์ เช่น ฟิลด์วันที่ประกอบด้วย 3 ฟิลด์ย่อย ๆ คือ วันที่ เดือน และปี หรือในฟิลด์ชื่อธนาคาร ยังประกอบด้วยหลายฟิลด์ย่อย ๆ คือ ชื่อธนาคาร ที่อยู่ เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์

การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ข้อมูล
•                  Field Size
            ในการกำหนดขนาดของฟิลด์ จะเป็นส่วนที่บอกถึงความยาวของข้อความที่สามารถป้อนลงไปได้ ซึ่งหากฟิลด์ข้อมูลที่สร้างขึ้น เช่น รหัส มีการป้อนข้อมูลลงไปเพียง 5 ตัวอักษร แต่ค่าเริ่มต้นในช่อง Field Size ของข้อมูลชนิดข้อความ กำหนดไว้เป็น 255 ตัวอักษร Access จะจองพื้นที่เก็บข้อมูลไว้ 255 จึงทำให้เป็นการเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ขนาดของฟิลด์เหมาะสมกับการป้อนข้อมูลด้วย
•                  Format
            ใช้ในการกำหนดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งจะไม่มีผลกับข้อมูล และจะแตกต่างกันไปตามชนิดข้อมูล ทั้งข้อมูลชนิดข้อความ ตัวเลข หรือวันที่เวลา ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการกำหนดรูปแบบกับฟิลด์ข้อมูลที่เป็นชนิดข้อความ
•                  Decimal Place
            ใช้สำหรับกำหนดว่าจะให้แสดงจุดทศนิยมกี่ตำแหน่ง ซึ่งจะใช้ได้กับข้อมูลชนิด Numberและ Currency เท่านั้น
•                  Input Mask
            ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการป้อนข้อมูล ซึ่งสามารถกำหนดโดยใช้เครื่องมือช่วย หรือจะกำหนดเองก็ได้ เช่น รูปแบบเบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น
•                  Caption
            ใช้กำหนดข้อความที่แสดงในส่วนหัวคอลัมน์ในมุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) หรือเป็นชื่อที่ปรากฏในฟอร์ม หรือรายงาน
•                  Default Value
            ใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของข้อมูลในฟิลด์ ถ้ามีการเพิ่มเรคคอร์ดใหม่ลงไปในตาราง ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลที่ตรงกับค่าเริ่มต้นนี้
•                  Validation Rule
            ใช้สำหรับกำหนดเงื่อนไขสำหรับการป้อนข้อมูล เช่น ในฟิลด์นี้จะต้องป้อนข้อมูลเพียง 2 ค่าคือ หญิงและชายเท่านั้น ถ้าป้อนนอกเหนือจากนี้แล้ว จะแสดงกรอบหน้าต่างเตือน และไม่สามารถป้อนข้อมูลนอกเหนือจากที่กำหนดนี้ได้
•                  Validation Text
            ใช้สำหรับแสดงข้อความแจ้งเตือน เมื่อป้อนผิดเงื่อนไขในช่อง Validation Rule ซึ่งสามารถป้อนข้อความแจ้งเตือนได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร
•                  Required
            ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติว่าผู้ใช้จำเป็นจะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ที่กำหนดนี้หรือไม่ถ้าเลือก Yes จะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ แต่ถ้าเลือก No ไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลก็ได้

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบฐานข้อมูล

        ระบบฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้

· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing) 
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy) 
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity) 
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security) 
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำแบบเฟลช์(Flash Memory)

หน่วยความจำแบบเฟลช(Flash Memory)
หน่วยความจำแบบเฟลช์ ( Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม (Electrically Erasable Programnable Read Only Memory :EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูล ได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการและเก็บข้อมูลได้ แม้ไม่ได้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิตอล กล้องวีดิทัศน์ ที่เก็บข้อมูล แบบดิจิตอล ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ(Removable Drive) ทัมป์ไดรฟ์(Thump Drive) แฮนดี้ไดรฟ์( Handy Drive) และเพ็นไดรฟ์(Pen Drive)

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์: USB Flash Drive

ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์: USB Flash Drive
Handy drive ( แฮนดี้ไดร์ฟ )หรือคือชื่อทางการค้าของสื่อจัดเก็บประเภทแฟลชเมมโมรี่ ( Flash Memory )ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร ์ ด้วยพอร์ตยูเอสบี ( USB Port ) มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับยูเอสบีแฟลชเมมโมรี่( USB Flash Memory ) ที่ถูกเรียกด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น Thumb Drive, Flash Dirve, Jet Drive ฯลฯ แฮนดี้ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็กแต่มีความจุสูง ทั้งนี้มันมีความจุมากกว่าแผ่นดิสต์ซึ่ง โดยปกติการย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง มักจะใช้ ดิสก์เก็ต ในการโอนย้าย( มีความจุประมาณ 1.44 MB ) แต่ปัจจุบัน ข้อมูลที่ต้องการเคลื่อนย้ายมีขนาดใหญ่มากไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรูปภาพ เพลง ข้อมูลการนำเสนอ รวมทั้งไฟล์หนังมีผลทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้าย ซึ่งผ่านดิสก์เก็ต ได้สะดวกยูเอสบีแฟลชไดรฟ์มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ(Removable Drive) ทัมป์ไดรฟ์(Thump Drive) แฮนดี้ไดรฟ์( Handy Drive) และเพ็นไดรฟ์(Pen Drive)

ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc )

ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc )
 ดีวีดี ( DVD; Digital Versatile Disc ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง( Optical Disc ) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
 คุณสมบัติของดีวีดี


  1. ​สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที ( 4.7 GB. )
  2. การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
  3. ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
  4. ใช้บันทึกข้อมูล ภาพและเสียงด้วยระดับคุณภาพของซีดี ก็จะสามารถ บันทึกได้นานถึงเกือบ 8 ชั่วโมง                                                                                          

แผ่นซีดี (Compact Disk : CD )

แผ่นซีดี (Compact Disk : CD )
 แผ่นซีดี (Compact Disk : CD )
วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูล บนแผ่นซีดี ใช้หลักการทางแสง แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต เหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์(optical disk)แผ่นซีดี ( CD-ROM ) แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัลแผ่นซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน แผ่นซีดีที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่

แผ่นซีดีที่นิยม 

แผ่นซีดีที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่
- แผ่นซีดีรอม ( CD-ROM )เป็นหน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ เมื่อบันทึกข้อมูลลงไปในครั้งแรกแล้วเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้อีก
 - แผ่นซีดีอาร์ ( CD-R ) คือซีดีเปล่าที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน
- แผ่นซีดีอาร์ ดับบลิว ( CD-RW ) คือแผ่นซีดีเปล่าที่ผู้ใช้สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง เพื่อจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์, วีดีโอ และ เพลง
  แผ่นซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมากซีดีรอม ซีดีอาร์ ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมมีหลายความเร็ว เช่น 16x , 24x หรือ 48x เป็นต้น    ซึ่งค่า 24 x หมายถึงไดรฟ์ซีดีรอมมีความเร็วในการหมุน 24 เท่า ไดรฟ์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมีความเร็ว 1 x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล(Data TranferRate)150 KB ต่อวินาที ในปัจจุบันความเร็วในการอ่านซีดีรอมสูงสุดอยู่ที่ 
52 x


แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk)

แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) 
แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือนมีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสาร แม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอก ได้ผ่านทางสายยูเอสบี, รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วยจานบันทึก หลายอันด้วยกัน,
หัวอ่านและบันทึกข้อมูล, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟว์ และตัวมอเตอร์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ นั้นเป็นแค่ตัวเก็บข้อมูลเท่านั้น
ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยความจุเป็นเมกะไบต์และกิกะไบต์ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
  • ฮาร์ดดิสก์ไอดีอี( IDE: Integrated Device Electronics)
เป็นฮาร์ดดิสก์ใช้งานมายาวนานที่สุด มีการนำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มารวมไว้หับจานแม่เหล็ก เพื่อช่วยตัดสัญญาณรบกวนจากภายนอก ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น จีงมีการพัฒนาฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ขึ้นเป็นฮาร์ดดิสก์อีไอดีอี(EIDE:Enhance IDE)เพื่อลดข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไอดีอี ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นได้ถึง 4 เครื่อง ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลหรือมีความจุได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ซีเรียวเอทีเอ (Serial ATA)
เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาให้มีช่องสำหรับจ่ายให้ฮาร์ดโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติ พิเศษที่สามารถถอดฮาร์ดได้ในขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดดิสก์สกัสซีหรือเอสซีเอสไอ(SCSI: Small Computer System Interface)
เป็นฮาร์ดแวร์ที่มีหน่วยความจำในตัวเองซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก




หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน